วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ภาวะเลือดจางจากความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดแดง โดย นางสาวสุธาสินี วงค์อามาตย์

บทนำ
          ในปัจจุบันนี้ปัญหาทางด้านโลหิตวิทยาพบได้บ่อย และถือเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งพบเป็นภาวะที่มีจำนวนเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบิน ฮีมาโตคริตลดต่ำกว่าปกติ  ทำให้การขนส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อของร่างกายลดลง  ร่างกายจะปรับตัวต่อการขาดออกซิเจน ดังนั้นการสังเคราะห์ฮีโมโกลบินจึงมีความจำเป็นต้องใช้สารหลายชนิด  เช่น ธาตุเหล็ก กรดโฟริก และวิตามินบี 12สารเหล่านี้ล้วนจำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดงในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อำภาพร  พัววิไล)
           โลหิตจางเป็นภาวะหนึ่งไม่ใช่โรคโดยตรง แต่เป็นเครื่องบอกว่า มีโรคหรือสาเหตุซ่อนอยู่ในบุคคลคนนั้น มีหลายโรคที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางและก็พบได้บ่อยในบ้านเรา แต่คนไม่ค่อยใส่ใจ ถ้าหากเราปล่อยทิ้งไม่สนใจไปนานๆอาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้ อาการซีดนั้นแปลว่าร่างกายจะมีจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง เมื่อพบเห็นคนหน้าตาซีดๆ ผิวซีดๆ ไม่มีแรงก็มักจะลงความเห็นกันว่าเป็นโรคโลหิตจาง หรือเป็นภาวะเลือดจาง เลือดน้อย โดยอาศัยการสังเกตลักษณะของบุคคล เช่นอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืดเหมือนจะเป็นลม  มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ และผู้ที่ทานมังสวิรัติอย่างเคร่งครัด หรือผู้ที่รับประทานอาหารไม่ครบหมู่(บริษัท กู๊ดเฮลท์ประเทศไทยจำกัด )
          ในร่างกายของคนเราเมื่อพบว่าเม็ดเลือดแดงมีจำนวนน้อยกว่าปกติอาจจะนำพาให้โรคหรือเกิดอาการที่จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนคือ ซีด เหลือง อ่อนเพลีย สาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดอาการเหล่านี้ส่วนมากเกิดจากภาวะขาดสารอาหาร เช่นขาดสารอาหารพวก ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12และกรดโฟริก ซึ่งหากร่างกายของคนเราขาดสารอาหารเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นสาเหตุหลักๆที่ก่อให้เกิดภาวะเลือดจางตามมา  (บทความจาก : fwd  mail เขียนโดย chefmaster วันที่ February ,25,2009)

เรื่องภาวะเลือดจางจากความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดแดง
1.    ภาวะเลือดจางจากการขาดสารที่จำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือด
สารที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง ประกอบด้วย ไขมัน โปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ
1.1   ภาวะเลือดจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก
เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่สุด   ร่างกายต้องการธาตุเหล็กในปริมาณเพิ่มขึ้น  ซึ่งจะขึ้นในช่วงที่มีดเจริญเติบโตสูงสุดของทารกและวัยรุ่น   ในหญิงการบริโภคอาหารที่ขาดธาตุเหล็กอยู่เป็นประจำ
       การดูดซึมธาตุเหล็กลดลง (ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ) เนื่องจากมีการหลั่งของกรดเกลือ( กรดไฮโดรคลอริก)ในกระเพาะอาหารลดลง , ภาวะท้องเสียเรื้อรัง , การกินยาลดกรดในกระเพาะ เช่น ยาantacid
 ภาวะที่มีการสูญเสียเลือด  ได้แก่ช่วงมีประจำเดือน   แผลในกระเพาะอาหาร ผลกระทบต่อร่างกายสำหรับภาวะโลหิตจางประเภทนี้ คือ เนื้อเยื่อในส่วนต่างๆของร่าง  กายจะได้รับออกซิเจนลดลง  และเอนไซม์ที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบทำงานได้ไม่เต็มที่  ซึ่งมีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน  การเรียนรู้ และระดับพลังงานลดลง

             1.1.1สาเหตุของการขาดธาตุเหล็ก
                    1) การสูญเสียเลือดอย่างเรื้อรัง
พบว่าสาเหตุสำคัญในประเทศไทยคือ การมีพยาธิปากขอ การเป็นแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากการรับประทานยาแก้ปวดเมื้อยกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ หญิงที่มีประจำเดือนนานกว่าปกติ
                    2)การได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ
เช่นผู้ป่วยที่อุจจาระร่วงเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีการดูดซึมผิดปกติของลำไส้เล็ก
การรับประทานอาหารทีมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรังที่รับประทานอาหารได้น้อย และผู้ที่รับประทานมังสวิรัติอย่างเคร่งครัด
การมีพยาธิสภาพของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทำให้ความสามารถในการดูดซึมธาตุเหล็กลดลง เช่นผู้ป่วยที่ผ่าตัดกระเพาะอาหารบางส่วน
                   3)ร่างกายมีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น
เช่นทารก 4-6เดือนซึ่งร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว วัยรุ่นโดยเฉพาะเพศหญิงที่เริ่มมีประจำเดือน หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร
        1.1.2 กลไกลการเกิดภาวะเลือดจาง
อาหารที่รับประทนอาหารในแต่ละวันจะมีธาตุเหล็กประมาณ 12-15.ก(พยาธิวิทยา ผ.ศดร.อำภาพร พัววิไล) ซึ่งร่างกายจะดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกายเก็บไว้ เมื่อใดก็ตามที่มีการสูญเสียธาตุเหล็กออกจากร่างกายมากกว่าปริมาณที่ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ระบบทางเดินอาหารจะเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กไม่เพยงพอ ระบบทางเดินอาหารจะเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กออกจากรางกายมากกว่าปริมาณที่ควรขับหรือได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ระบบทางเดินอาหารจะเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กเพื่อธาตุเหล็กที่สลายออกจากแหล่งสะสมในเนื้อเยื่อ เพื่อนำมาสังเคราะห์ฮีโมโกลบินถ้าเหล็กที่เก็บสะสมไว้ถูกนำมาใช้จนหมด จะส่งผลให้ระดับฮีโมโกลบินลดลง การนำออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง ทำให้อาการซีด เวียนศีรษะ เป็นลม อ่อนล้าได้ง่าย อย่างไรก็ตามในผู้ใหญ่ที่มีธาตุเหล็กสะสมอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม้ไม่รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กเลย ก็ต้องใช้เวลามากกว่า 3 ปีจึงเกิดอาการของการขาดธาตุเหล็กขึ้นดังนั้นก่อนที่ร่างกายจะเกิดภาวะเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก ร่างกายจะมีกลไกลการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเป็น 3 ระยะ
                1)ระยะพร่องธาตุเหล็กสะสม
ในระยะนี้ธาตุเหล็กที่สะสมไว้ในรูปเฟอร์ริตินจะนำมาใช้มากแต่ธาตุเหล็กที่ใช้หมุนเวียนในร่างกายยังเพียงพอ ร่างกายจะปรับตัวโดยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กที่ลำไส้เล็กส่วนต้น และส่วนกลาง เพื่อนำธาตุเหล็กมาสร้างฮีโมโกลบินในระยะนี้ยังไม่พบความผิดปกติใดๆ นอกจากระดับของเฟอร์ริตินในกระแสเลือดลดลง
               2)ระยะขาดธาตุเหล็กในการสร้างเม็ดเลือด
ในระยะนี้ธาตุเหล็กที่เก็บสะสมไว้จะหมดไปจากร่างกาย ระดับธาตุเหล็กเฟอร์ริตินจะต่ำ การสร้างเม็ดเลือดแดงในไขกระดูกจะเริ่มลดลงแต่ยังเกิดภาวะเลือดจาง อาจตรวจพบได้ว่าเม็ดเลือดแดงมีขนาดลดลง แต่ยังไม่ชัดเจน
               3)ระยะขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรง
จนทำให้เกิดภาวะเลือดจางอย่างชัดเจนไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงซึ่งมีฮีโมโกลบินต่ำและมีลักษณะรูปร่างเฉพาะคือมีขนาดเล็กลงและติดสีจางกว่าปกติจะพบเม็ดเลือดแดงในลักษณะนี้ชัดเจนเมื่อระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 10กรัม % (กาญจนา จันทร์สูง,2542)
            1.1.3 อาการและอาการแสดง
ธาตุเหล็กนอกจากเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดงแล้วยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเนื้อเยื่อเยื่อต่างๆ เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ และเป็นตัวส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด ดังนั้นผลของภาวะเลือดจางการขาดธาตุเหล็กจึงทำให้เกิดความผิดปกติทั้งต่อระบบเลือดและระบบอื่นๆ
                1)ผลต่อระบบเลือด
ผู้ป่วยจะมีอาการของภาวะเลือดจาง คือ ซีด เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ในรายที่มีภาวะเลือดรุนแรง อาจมีอาการมึนงง สับสน เนื่องจากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ อาจมีอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว การตรวจทางห้องปฏิบัติการจะพบระดับฮีโมโกลบินต่ำลง เมื่อตรวจดูสเมียร์เลือดจะพบเม็ดเลือดแดงมีขนาดแดงมีขนาดเล็กลง
                2)ผลต่อระบบอื่นๆ
                    ผลต่อเซลล์เยื่อบุ
      เมื่อมีภาวะเลือดจางรุนแรงจะพบการเสื่อมสลายของเซลล์เยื่อบุทำให้มีอาการลิ้นเลี่ยน เล็บเปราะแบนคล้ายซ้อน มุมปากอักเสบ
                    มีการเสื่อมหน้าที่ของเซลล์ในกระเพราะอาหาร
     ทำให้การหลั่งกรดไฮโดรคลอริก ในกระเพาะอาหารลดลง              การย่อมและการดูดซึมอาหารน้อยลง มีการเสื่อมของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหาร ทำให้มีการตีบของหลอดอาหารและมีการกลืนลำบาก
                    ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง
    ติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากจำนวนแส ซึ่งเป็น เอนไซมละการทำหน้าที่ของ T-lyphocyte ลดลง ความสามารถในการเก็บกินเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาวชนิด PMN ลดลง เนื่องจากเอนไซม์ไมอีโรเปอร์ออกซิเดสซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบในแกรนูลของ PMN ลดจำนวนลง
                    มีการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท
ทำให้บุคคลมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เนื่องจากทวิปโตนแฟน ไฮดรอกซิเลส  และโมโนเอมีน ออกซิเดส นอกจากในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดจางเพียงเล็กน้อย จะยังไม่มีอาการทางคลินิกแต่เมื่อมีภาวะเลือดจางรุนแรงมากขึ้นจึงมีอาการแสดงของภาวะเลือดจาง การรักษาที่สำคัญในผู้ป่วยประเภทนี้คือ การแก้ไขสาเหตุของภาวะเลือดจาง และการให้ธาตุเหล็กทดแทน  ยาที่นิยมใช้จะอยู่ในรูปของสารประกอบเฟอร์รัสเนื่องจากสามารถดูดซึมได้ดีกว่าที่อยู่ในรูปสารประกอบเฟอร์ริก
            1.2ภาวะเลือดจางจากการขาดวิตามินบี 12
 เป็นภาวะที่มีจำนวนเม็ดเลือดแดงในกระแสเลือดลดลงเนื่องจากมีการขาดวิตามินบี 12 ได้เอง ร่างกายจำเป็นต้องได้รับจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ตับไข่ นม ประมาณ 1-2 ไมโครกรัม/วัน เมื่อรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี12 เข้าไปในร่างกาย วิตามินบี12จะจับกับอินทรินสิกแฟกเตอร์ ซึ่งเป็น”กลโคโปรตีนที่สร้างจาก parietal cell ในกระเพาะอาหารเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่สามารถจับกับตัวรับที่บริเวณลำไส้เล็กส่วนปลายและดูดซึมเขาสู่กระแสเลือดเพื่อไปเก็บสะสมที่ตับ ดังนั้นถ้ามีความผิดปกติในการนำวิตามินบี12 เข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดภาวะเลือดจางตามมาได้
                1.1.2 สาเหตุของการขาดวิตามินบี12
                      1) การดูดซึมวิตามินบี12
เนื่องจากขาด intrinsic factor    เกิดภาวะเลือดจางที่เรียกว่าภาวะเลือดจางเพอร์นิเซียส ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อ parietal cell และ intrinsic factor ของตนเองนอกจากนี้ยังพบในผู้ป่วยภายหลังตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วนหรือทั้งหมดทำให้ขาด intrinsic factor เป็นผลให้ไม่สามารถดูดซึมวิตามินบี12 ได้ ส่วนสาเหตุอื่นที่พบได้คือ โรคของลำไส้เล็กที่มีผลทำให้ไม่เคลื่อนไหว ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตเร็ว และยังจับกินวิตามินบี12 ในสารอาหารการติดเชื้อพยาธิตืดปลา การผ่าตักลำไส้เล็กบางส่วนปลายออก
                      2)การได้รับวิตามินบี12
จากอาหารไม่เพียงพอ มักพบในผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติแบบสมบูรณ์ในคนไทยทั่วไปจะพบการขาดวิตามินบี12จากอาหารไม่เพียงพอ มักพบในผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติแบบสมบูรณ์ ในคนไทยทั่วไปจะพบว่าถ้าร่างกายขาดวิตามินบี12 ในระยะแรกของร่างกายจะดึงวิตามินบี12 จากที่เก็บสะสมมาใช้ได้นานถึง3-5 ปี หลังจากนั้นจึงเกิดภาวะเลือดจาง
                 1.1.2 กลไกลการเกิด
เมื่อวิตามินบี12 ที่เก็บสะสมไว้ถูกนำไปใช้จะเกิดพยาธิสภาพจากการขาดวิตามินบี12 ใน3 ลักษณะ

                      1)มีความผิดปกติในการสังเคราะห์
DNA ของเม็ดเลือดแดงส่งผลให้มีการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไม่มีประสิทธิภาพ เม็ดเลือดแดงตัวอ่อนจะตายหรือถูกทำลายก่อนที่จะเจริญเติบโตเต็มที่ ทำให้เกิดภาวะเลือดจางขึ้น
                     2)มีความผิดปกติของระบบประสาท
การขาดวิตามินบี12 จะทำให้มีการสร้างกรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทผิดปกติ และในที่สุดมีการเสื่อมของเยื่อหุ้มเซลล์ประสาททำให้ประสาทรับความรู้สึก และประสาทเคลื่อนไหว ความผิดปกติของสมองและไขสันหลังเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะมีอาการอย่างถาวร ถึงแม้ได้รับการรักษาโดยให้วิตามินบี12 จะไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้
                     3)มีความผิดปกติของเยื่อบุ
ในทางเดินอาหารและเกิดกระเพาะอาหารอักเสบทำให้มีการดูดซึมกรดโฟริก และธาตุเหล็กลดลง
              1.2.3อาการและอาการแสดง
อาการแสดงที่พบในผู้ป่วยภาวะเลือดจางจากการขาดวิตามินบี12
1)     อาการที่เกิดจากเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
2)    อาการทางระบบประสาท เป็นอาการแสดงเฉพาะของภาวะเลือดจางจากการขาดวิตามินบี12ที่ต่างจากภาวะเลือดจางชนิดอื่นๆเช่นความจำเสื่อม สับสน ชาที่แขนและขา การรับความรู้สึกเสียไป
3)    อาการของระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ ท้องผูก ท้องเสีย ลิ้นเลี่ยน


การรักษาที่สำคัญคือ การให้วิตามินบี12 ทดแทนโดยวิธีรับประทาน หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ของการขาดวิตามินบี12 การทดสอบหาปริมาณ intrinsic factors โดย schilling test จะสามารถแยกสาเหตุของการขาดวิตามินบี12 ได้ว่าเกิดจากการขาดสารอาหารหรือจากการขาด intrinsic factor ถ้าขาดintrinsic factor จะต้องให้วิตามินบี12 โดยการฉีดเท่านั้น


           1.3    ภาวะเลือดจางจากการขาดกรดโฟริก
กรดโฟริกเป็นวิตามินที่จำเป็นในเมตาบอลิซึมของกรดอะมิโน และเป็นเอนไซม์ร่วมในการสังเคราะห์ DNA  เหมือนวิตามินบี 12 พบมากในผักใบเขียว ตับ นม ไข่และผลไม้ แต่สูญเสียคุณสมบัติ ได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน ดังนั้นคนที่ได้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ปรุงอาหารให้สุกทั้งหมดก็อาจจะขาดกรดโฟริกได้
          


      ตามปกติร่างกายต้องการกรดโฟริกประมาณ 50.ก/วัน กรดโฟริกจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กส่วนต้น และส่วนกลาง หลังจากเข้าสู่กระแสเลือดแล้วจะถูกนำไปเก็บสะสมที่ตับ  ปริมาณที่เก็บสะสมไว้นี้จะสามารถนำมาใช้ทดแทนในกรณีที่ไม่ได้รับประทานอาหารที่มีกรดโฟริก ได้ประมาณ 4 เดือน หลังจากปริมารกรดโฟริกจากตับและสารนี้เป็นพิษต่อตัวอ่อนของเซลล์เม็ดเลือดแดง

            1.3.1สาเหตุของการขาดโฟริก
                 1) การได้รับอาหารที่มีกรดโฟลิกไม่เพียงพอ
เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในกลุ่มบุคคลที่ขาดอาหารผู้สูงอายุ แลผู้ที่ดื่มสุราจำนวนมากเป็นประจำ เนื่องจากสารเอทานอล จะมีผลให้มีความบกพร่องในการปลดปล่อยกรดโฟริก จากตับและสารนี้ เป็นพิษต่อตัวอ่อนของเซลล์เม็ดเลือดแดง


                 2) ร่างกายอยู่ในภาวะที่มีความต้องการกรดโฟริกเพิ่มขึ้น เช่น ในผู้ป่วยที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกอย่างผิดปกติ ได้แก่ โรคธาลัสซีเมีย โรคที่มีการแบ่งตัวของเซลล์อย่างผิดปกติในไขกระดูก  ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว   มะเร็งระยะแพร่กระจาย และหญิงตั้งครรภ์ซึ่งมีความต้องการกรดโฟริกมากกว่าปกติเพื่อใช้ในการสังเคราะห์ DNA ของเม็ดเลือดแดง
  
2.ภาวะเลือดจางจากความผิดปกติของเซลล์ที่สร้างเม็ดเลือดแดง

                2.1 ภาวะเลือดจางอะพลาสติก
                    2.1.1สาเหตุของภาวะเลือดจาง
ภาวะเลือดจางอะพลาสติกเป็นภาวะที่ไขกระดูกล้มเหลวไม่สามารถ สร้างเม็ดเลือดได้ตามปกติ พบว่าเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดต่ำ ภาวะเลือดจางชนิดนี้แบ่งได้เป็น 2ชนิด
                    1) ชนิดปฐมภูมิ
เกิดจากความผิดปกติของโคโมโซมแต่กำเนิด สามารถถ่ายถอดทางพันธุกรรมได้ และกลุ่มเลือดจางอะพลาสติกไม่สามารถค้นหาสาเหตุที่แท้จริงได้
                 2)ชนิดทุติยภูมิ
เกิดจากการได้รับสารซึ่งอาจทำอันตรายต่อไขกระดูกโดยตรง ได้แก่ การได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิด ยาต้านอาการชัก ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมะเร็งที่มีพิษต่อเซลล์ ยาฆ่ามะแรง เบนซีน สีย้อมผม การได้รับรังสี
 และการติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะเชื้อไวรัสที่ทำให้ตับอักเสบ

                 2.1.2กลไกการเกิด
กลไกที่แท้จริงของการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าจะมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติไปจากเดิมมีการฝ่อหายไปทำให้มีจำนวนเซลล์ในไขกระดูกลดลงมาก จนถึงขั้นไม่มีเซลล์ในไขกระดูกเลยภาวะเลือดจางอะพลาสติก ยังอาจเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม ในไขกระดูกที่ทำให้การแบ่งตัวและการเจริญเติบโตของเซลล์ผิดปกติรวมทั้งการได้รับสารจากเซลล์ต้นกำเนิดไปเป็นเซลล์ที่สมบูรณ์ ในกรณีที่ความผิดโรคจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว

                2.1.3อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยมักมาโรงพยาบาลด้วยอาการสำคัญ
1)ซีดเรื้อรังและรุนแรง โดยพบจำนวนเม็ดเลือดแดงจะน้อย จำนวนเรติคิวโลไซต์ต่ำ และมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และหายใจลำบากเมื่อใช้แรง
2)เลือดออกง่าย เนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ ส่วนใหญ่จะพบจ้ำเขียวตามผิวหนัง รองลงมาคือเลือดออกตามเหงือกและฟัน(พงษ์จันทร์  หัตถีรัตน์ และคณะ,2538)
3)มีไข้ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อในร่างกาย ซึ่งเป็นผลมาจากภูมิต้านทานโรคต่ำ มักตรวจพบระดับเม็ดเลือดขาวซึ่งเม็ดเลือดขาวที่พบส่วนใหญ่จะเป็นลิมโฟ”ซล์ ไม่ใช่นิวโทรฟิล
                              

           เมื่อนำเลือดของผู้ป่วยมาเสมียร์ดูรูปร่างของเม็ดเลือดแดงจะพบว่าเซลล์มีขนาดและการติดสีปกติ แต่เมื่อเจาะตรวจดูเซลล์ในไขกระดูกจะพบว่ามีจำนวนเซลล์ลดลงมากหรือพบลักษณะจำนวนเซลล์ในไขกระดูกลดน้อยลงและเซลล์ถูกแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อไขมัน การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น ร่วมกับการรักษาเฉพาะได้แก่ฮอร์โมนแอนโดรเจน  การให้ยากดภูมิต้านทานและการปลูกถ่ายไขกระดูก 

บทสรุป
       ภาวะโลหิตจางเป็นภาวะอย่างหนึ่ง  ไม่ใช่โรคโดยตรง  เป็นเครื่องบอกเหตุว่ามีโรคหรือสาเหตุซ่อนอยู่  ในภาวะโลหิตจางร่างกายจะมีจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง แต่ละเพศละวัยมีค่านี้แตกต่างกัน เลือดจางหรือโลหิตจางเป็นคำที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี เช่นการพบเห็นคนหน้าซีดๆ ผิวซีดๆ ไม่มีแรงก็มักจะลดลงความเห็นว่าเป็นโลหิตจาง โดยอาศัยข้อมูลจากลักษณะที่พบเห็นได้โดยง่าย โลหิตจางจะมีอาการซีด เพลีย เหนื่อยง่าย ทำงานไม่ค่อยไหว ผู้ป่วยที่มีโลหิตจางรุนแรงอาจมีการทำงานหัวใจล้มเหลว เกิดภาวะหัวใจวายและสมองจะทำงานน้อยลง  จนกระทั่งหมดสติ ภาวะเลือดจางก็มีอยู่หลายๆ สาเหตุ แต่ที่พบบ่อยๆ คือ เลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก พบบ่อยในชาวชนบท ผู้ที่ลดน้ำหนัก ด้วยการอดอาหาร ผู้ที่พึ่งแท้งบุตร  หญิงหลังคลอด ผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารหรือคนที่เป็นริดสีดวงทวาร เม็ดเลือดแดง จะมีชีวิตอยู่ในร่างกายประมาณ 120 วัน แล้วจะเสื่อมสะลายไปพร้อมกับเม็ดเลือดแดงใหม่ที่ไขกระดูกสร้างเข้ามาทดแทน จึงเกิดภาวะสมดุลในร่างกายไม่เกิดภาวะโลหิตจาง อาการแสดงที่พบบ่อยว่ามีภาวะโลหิตจาง  อาการที่พบได้บ่อย มีลักษณะซีด ดูได้จากสีของผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ใต้เล็บ ดูจากสีเยื่อบุ ด้านในของเปลือกตาล่าง พลิกเปลือกตาดู อาการที่ชี้แนะ  คือมีตัวเหลือง มีจุดเหลืองและจ้ำเลือดตามตัว เมื่อเรารู้ว่าเราเป็นโลหิตจาง หรือมีภาวะเราต้องดูแลตัวเอง นอกเหนือจากที่ต้องรักษาด้วยยาตามที่แพทย์สั่ง อาหาร การออกกำลังกาย การประกอบอาชีพ การพักผ่อน ควรปฏิบัติให้ถูก หากเกิดความสงสัยให้สอบถามแพทย์ เราต้องกล้าปรึกษาคนที่รู้ หรือแพทย์ พยาบาล ครอบครัว เพื่อจะได้รู้ข้อมูลในการดูแลรักษาตัวเอง

                                                           อ้างอิง

1.     ผ.ศ ดร.อำภาพร   พัววิไล(หนังสือพยาธิสรีรภาพ)มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หน้า 31-38
2.     บริษัท กู๊ดเฮลท์ประเทศไทยจำกัด
3.     บทความจาก:fwd  mail  เขียนโดย chefmaster วันที่ February 25/2009
4.     กาญจนา  จันทร์สูง ,2542
5.     พงศ์จันทร์  หัตถีรัตน์ และคณะ 2538

1 ความคิดเห็น:

  1. How to register an online casino site - Lucky Club
    Lucky Club has an amazing range of live luckyclub.live casino games. Get the best slots, table games, live dealer and more. Choose from over 700+ popular games,

    ตอบลบ